Power Meter คืออะไร และวิธีหาค่า FTP แบบง่ายๆ | ซ้อมยังไงให้เป็นขาแรง ตอนที่ 11
มาทำความรู้จักกับอุปกรณ์ Power Meter ว่าคืออะไร และวิธีหาค่า FTP (Functional Threshold Power) สำหรับนักปั่นจักรยาน ให้ไปสู่จุดที่เรามุ่งหวัง ไม่ว่าจะหวังมาก หรือหวังน้อย ใช้ได้ทั้งนั้น รายละเอียดอยู่ในคลิป ไปดูแล้วเอาไปใช้!
เพาเวอร์มิเตอร์คืออะไร คลิปนี้มีคําตอบ
สวัสดีครับ ผม แจ๊ค วัชรพงษ์ แก้วสะอาด กับคลิปวิดีโอในซีรี่ย์ซ้อมปั่นจักรยานยังไงให้เป็นขาแรง สําหรับคลิปนี้เราจะพูดถึงอุปกรณ์ตัวช่วย ที่จะสามารถช่วยในการซ้อมของเราได้ ให้เราสามารถพัฒนาการซ้อมของเราไปอย่างที่เราต้องการได้ อุปกรณ์ที่ว่านี้คือ พาวเวอร์มิเตอร์ ขั้นแรกมารู้จักพาวเวอร์มิเตอร์ก่อน พาวเวอร์มิเตอร์คืออะไร พาวเวอร์ แปลว่ากําลัง มิเตอร์ แปลว่ามาตรวัด เพราะฉะนั้นมันคือ มาตรวัดกําลังมาตรวัดกําลังของอะไร ก็ของนักปั่นที่เราออกแรงกดลงไปที่บันไดจักรยาน ตัวมิเตอร์ก็จะบอกมาว่าไอ้แรงที่เรากดลงไปเนี่ย มันแค่ไหน มีหน่วยเป็นวัตต์นะครับ ไม่ใช่กระแสไฟฟ้านะครับ อันนี้วัตต์คือกําลังที่เราออกลงไป มันคือค่าของงานที่เราทํา
โอเค คราวนี้ พาวเวอร์มิเตอร์มีจุดเริ่มต้นมายังไง ก็คือสมัยก่อนนะครับ นักกีฬาระดับโปรแบบที่ว่า โปรสุดๆสมัยก่อน
เขาได้เริ่มใช้พาวเวอร์มิเตอร์กันมาสักยี่สิบสามสิบปีแล้ว แต่ว่านักปั่นธรรมดาไม่มีปัญญาเอื้อมถึงครับ เพราะว่าราคามันแพงมาก ราคามันแพง มันเป็นแสนๆ หลายๆแสน แล้วก็ต้องมีโปรแกรมอะไรควบคุมกันเยอะแยะเลย เพราะฉะนั้นเนี่ย คนธรรมดาเลยไม่มีโอกาสที่จะได้สัมผัส
แต่ในปัจจุบันเนี่ยครับ คือราคามันถูกลงมา ถูกลงมา เดี๋ยวนี้เนี่ยราคาเรียกว่าหมื่นห้าคุณก็ ได้แล้วพาวเวอร์มิเตอร์ แต่บางคนบอกว่าหมื่นห้าก็ยังแพงอยู่ดีซื้อจักรยานได้เป็นคัน ถูกครับ
แต่ว่าถ้าคุณซีเรียสจริงจังในการซ้อมจริงๆ และสามารถจ่ายได้ ก็แล้วแต่คุณนะครับ ก็เลือกเอานะครับ แต่ว่าเท่าที่ผมใช้มา มันเวิร์ค
คราวนี้มาถึงคําถามที่ว่าแล้วเราใช้แค่หัวใจซ้อมอย่างเดียวไม่พอเหรอ หรือว่าใช้แค่ความรู้สึก ซ้อมอย่างเดียวไม่พอเหรอ ก็คือแล้วแต่ที่คุณสะดวก
แต่ผมจะบอกถึงข้อแตกต่างระหว่างการซ้อมด้วยพาวเวอร์มิเตอร์และการซ้อมด้วยหัวใจ ลองเปรียบเทียบกันดูนะครับ
การซ้อมด้วยหัวใจ สมมุติว่าเราอยากที่จะบอกว่า เอ้า โอเคเดี๋ยวคุณทําอินเทอร์วอลนะ โซน 4 เวลา 3 นาที คุณก็ต้องไล่หัวใจขึ้นไป ไล่หัวใจขึ้นไปให้มันได้โซน 4 ซึ่งมันใช้เวลา ในการไล่กว่าจะไล่ไปถึงโซน 4 แรงจะหมดอยู่แล้ว
แต่ส่วนถ้าเราซ้อมด้วยพาวเวอร์มิเตอร์ ถึงเวลาปุ๊บ กดโซน 4 ทันที แรงมาทันที
เพราะฉะนั้นอันนี้คือข้อแตกต่าง แล้วเวลาที่เราบอก อ้าว โอเค เวลาหมดแล้ว เราหยุดกด แรงมันก็ ลงไปทันทีเหมือนกัน
ส่วนซ้อมด้วยหัวใจ อ้าว หมดเวลาแล้ว เออ เดี๋ยวก่อน เดี๋ยวรอไล่หัวใจลงไปก่อน
อันนี้คือ แตกต่างข้อหนึ่งนะครับ ก็คือ power meter ออกแรงทันที เห็นผลทันที หัวใจต้องไล่ก่อน
การซ้อมด้วยหัวใจ อากาศ, อารมณ์ความรู้สึกของนักปั่น มีความเกี่ยวข้อง อากาศร้อน หัวใจเต้นเร็ว ทั้งๆที่ออกแรงเหมือนเดิม แต่หัวใจเต้นเร็วกว่าปกตินะครับ อากาศเย็นหัวใจมันก็เต้นช้าลง ออกแรงไม่ค่อยออกนะครับ หัวใจก็เต้นช้าลง ตื่นเต้นดีใจ ใจเต้นแรงก็ส่งผลให้เราความคงที่ของการซ้อมไม่เหมือนกันนะครับ
หรือว่าเราไปแข่ง หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ ส่วน power meter แรงก็คือแรง แค่ไหน ร้อยวัตต์ สองร้อยวัตต์ จะอากาศเป็นแบบไหน มันก็เท่าเดิม คุณจะตื่นเต้นไม่ตื่นเต้น ร้อยวัตต์ สองร้อยวัตต์ ค่าเท่าเดิม เพราะฉะนั้น นี่คืออีกข้อแตกต่างหนึ่งที่ว่าหัวใจกับ power meter มันต่างกันยังไง
ตัว power meter ตัวแปรภายนอกมีผลกระทบน้อยกว่านะครับ ส่วนหัวใจ ตัวแปรภายนอกมีผล อากาศ ความตื่นเต้น อารมณ์ดีใจทุกอย่าง
คราวนี้ เรามาพูดถึง ค่า FTP อย่างคลิปที่แล้วผมบอกไปแล้วนะครับ
เราจะซ้อมด้วยหัวใจ เราใช้หัวใจทําการ LTHR และ Lactate Threshold Heart Rate นะครับ
การซ้อมด้วยพาวเวอร์มิเตอร์ เราก็ต้องหาค่า FTP Functional Threshold Power หรือค่ากําลังทําการนั่นเอง อ้าว แล้วเราจะหายังไง หายังไงครับ
ก็คือ ง่ายๆ เอาแบบง่ายๆ เบเบครับ
ก็คือวอร์มอัพ 15 นาที ในระหว่างการวอร์มอัพเนี่ย เราอาจจะแบ่งช่วงสัก 5 นาที ใส่เต็มแม็กนะครับ ใส่เต็มแม็ก เปิดกระตุ้นให้ร่างกายมันตื่นนะครับ แล้วหลังจากนั้นเราก็ผ่อนลงนะครับ ประมาณ 5 นาที
พอครบ 15 นาทีในช่วงวอร์มอัพ คุณก็จัดหนักนะครับ เป็นเวลา 20 นาที วิธีที่ผมค้นพบง่ายๆ ก็คือว่า เราหาค่าหัวใจทําการจากคลิปที่แล้วก่อน หาค่าหัวใจทําการได้ปึ๊บ คราวนี้เวลาเรามาหา ค่า FTP เวลาเข้าช่วง 20 นาทีปึ๊บ เราก็ปั่นแช่ที่หัวใจทําการของเรา ปั่นแช่ที่หัวใจทําการเป็นเวลา 20 นาที ดูว่าพาวเวอร์เฉลี่ยในช่วงนั้นเท่าไหร่ หลังจากที่เราได้ค่าเฉลี่ยใน 20 นาที เราก็เอามาหักออก 5 เปอร์เซ็นต์
สมมติว่าได้ 200 วัตต์ เราก็หักออก 10 วัตต์ เราก็จะได้ค่า FTP ที่ 190 วัตต์
ค่า FTP เอาไปใช้ตอนไหน
ค่า FTP คือเหมือนหัวใจทําการ คือค่าที่เราจะแช่กําลังได้ อันนี้มีประโยชน์มากในตอนที่เราแข่ง หรือว่าเราปั่นไทม์ไทรอัล พวกนี้เขาจะปั่นกันที่ค่า FTP โอเคครับ คลิปนี้เราเอาแค่นี้ เรารู้จักพาวเวอร์มิเตอร์แล้ว เรารู้จักการหาค่า FTP เดี๋ยวต่อไปที่ว่าเราไปเข้าสู่จัดโปรแกรมซ้อม เราค่อยมาดูกันว่าเราจะแบ่งโซนการซ้อมยังไงนะครับ อดใจอีกนิดนึง เดี๋ยวคุณจะได้ซ้อมโปรแกรมระดับเทพแล้วแน่นอนคลิปนี้ทำเพื่อคนที่รักการปั่นทุกท่าน เผื่อจะได้ไปปั่นตูร์เดอฟร็องซ์กับเขามั่ง
ลิงค์ที่น่าสนใจ เครื่องสำอางสมุนไพร Beauty by Herb
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น